สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นบุตรของสมเด็จพระเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงจัน สืบสายสกุลมาจากท่านเฉกอะหมัด กุมมี (เช้ค อะหมัด) เป็นชาวอิหร่านซึ่งเข้ามาค้าขายในเมืองไทย สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 2 จนถึงรัชการที่ 5 มีตำแหน่งตั้งแต่มหาดเล็กจนถึงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งให้พระบาทสมเด็จเจ้าพระยาฯ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอกรมหลวงวิษณุรารถนิภาธร เดินทางไปสิงค์โปร์เพื่อดูการพัฒนาบ้านเมืองของเขาแล้ว กลับมาพัฒนาทำนุบำรุงพระนคร ท่านพบว่ามุสลิมเชื้อสายมาลายู ที่อยู่ตามหัวเมืองเหล่านั้นเป็นผู้มีฝีมือการช่างและก่อสร้าง จึงรวบรวมพี่น้องมุสลิมจากจังหวัดปัตตานีและสตูลซึ่งเป็นบุคคลระดับผู้นำของศาสนาตลอดจนทายาทเจ้าเมืองปัตตานี มาช่วยงานตามพระประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยประทานที่ดินส่วนหนึ่งให้เป็นที่อยู่อาศัยของมุสลิมนี้ บริเวณหลังคาจวนซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในปัจจุบัน โดยแบ่งเนื้อที่ส่วนหนึ่งไว้ทำกุโบร์ ทำสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาผู้คนจึงเรียกพี่น้องมุสลิมว่า “ก๊ก สมเด็จ” หรือ “มุสลิมบ้านสมเด็จ” หรือ “บ้านแขก” พี่น้องมุสลิมกลุ่มนี้ก็จัดสร้างสุเหร่าขึ้นเป็นหลังแรกริมคลองซอยตรงข้ามกับวัดน้อย (วัดหิรัญรูจี) โดยสร้างเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวเรียกว่า “บาแล” ใช้สำหรับประกอบศาสนกิจ และสอนอัลกุรอานด้วย ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่กันไว้สำหรับทำกุโบร์และมัสยิด ด้านทิศตะวันตกหันหน้ามาทางกุโบร์มีบ่อน้ำสำหรับกักน้ำไว้ใช้อยู่ด้านหน้าจะเรียกว่าเป็นบ่อน้ำอเนกประสงค์ก็ได้ พี่น้องมุสลิมบ้านสมเด็จหลายคนได้มีโอกาสเข้ารับราชการในหน่วยงานต่างๆ จนได้รับความดีความ ชอบตามความสามารถได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ก็มีและได้รับพระราชทานนามสกุลก็มีเมื่อร่วมกันสร้างสุเหร่าเรียกร้อยแล้ว ก็พร้อมใจเชิญท่านตวนกูโนเป็นอิหม่าน (ถือเป็นอิหม่านคนแรกของมัสยิดบ้านสมเด็จ) ท่านผู้นี้เป็นเชื้อสายของเจ้าเมืองปัตตานีและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการศาสนาอิสลาม ทำหน้าที่นำการปฏิบัติศาสนกิจพร้อมทั้งสอนศาสนาไปด้วยได้รับคำบอกเล่าว่า ท่านเป็นต้นสกุล”บินตวนกู” ซึ่งสืบเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้ ความเป็นอยู่ของพี่น้องมุสลิมบ้านสมเด็จในสมัยนั้นนอกจากผู้ได้รับใช้งานของสมเด็จเจ้าพระยาฯ แล้วผู้ที่อยู่บ้านก็มีอาชีพทางหากุ้งหาปลาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งต่างก็มีความถนัดมาแต่ครั้งอยู่ถิ่นเดิมประกอบกับสัตว์น้ำในสมัยนั้นชุกชุมมากจึงมีความเป็นอยู่สมควรตามอัตภาพไม่เดือดร้อน
ต่อมาสุเหร่าเรือนไม้เริ่มชำรุดตามกาลเวลา สมเด็จเจ้าพระยาฯจึงได้ร่วมปรึกษาหารือกับบรรดาพี่น้องมุสลิมบ้านสมเด็จ ต่างมีความเห็นพ้องกันว่าให้สร้างให้ใหญ่กว่าเดิมและสร้างเป็นอาคารตึกจะได้มีความคงทนถาวรกว่าเรือนไม้ ประมาณปี พ.ศ. 2450 การก่อสร้างอาคารมัสยิดก็เริ่มขึ้นโดยการรื้อเรือนไม้ออก แล้วสร้างบนเนื้อที่เดิม กว้าง 5 วา ยาว 10 วา กำแพงอิฐฉาบปูน รอบ 4 ด้านเครื่องบนเป็นไม้ หลังคากระเบื้องว่าวพื้นปูกระเบื้องลาย ประตูเข้า 2บาน มีช่องเมี๊ยะหรอบตรงกลาง ยื่นจากตัวอาคารเริ่มสร้างด้วยการลงเข็มลาย(ใช้ไม้ทองหลางและต้นหมาก) ตามแนวกำแพงแล้วเทปูนเป็นคานทับหัวเข็ม (ปูนซีเมนต์ต้องสั่งจากต่างประเทศไทยยังไม่มีการผลิตปูนซีเมนต์) แล้วจึงก่ออิฐฉาบปูนโดยรอบ (ปูนฉาบ ใช้ปูนขาวผสมน้ำอ้อยแล้วหมักค้างคืนไว้) ในขณะนั้นคนไทยยังไม่ถนัดงานปูน จึงว่าจ้างช่างชาวจีนไหหนำ หัวหน้าช่างชื่อ นายย่งเฮง มาทำงานปูน ส่วนงานไม้ชาวมุสลิมชำนาญอยู่แล้วจึงช่วยกันทำแต่กว่างานปูนจะเสร็จก็กินเวลา 2-3 ปี เพราะติดขัดเรื่องงบประมาณ ต้องใช้วิธีทำไปหาไปมีเงินบริจาคมาครั้งหนึ่งก็เรียกช่างปูนมาทำต่อจรงานปูนเสร็จ ก็ถึงเวลาที่ช่างไม้จะต้องยกเครื่องบนขึ้นโดยสร้างหลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องจากชายคาสี่ด้านขึ้นไปบรรจบกันที่กลางอกไก่ มีไม้ฉลุลายประดับตามยาวของตัวอาคาร ทำให้เด่นมองเห็นแต่ไกลส่วนฝ้าเพดานทำด้วยไม้กว้างด้านละ 2 เมตร คล้ายกับท้องเรื้อคว่ำ ซึ่งเป็นงานที่วิจิตรพิสดารหาดูได้ยาก และท้าทายความสามารถเมื่อปี พ.ศ. 2457 การก่อสร้างอาคารถาวรของมัสยิดบ้านสมเด็จก็เสร็จเรียบร้อย ใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมด 7ปี มีการจัดงานฉลองกัน 5 วัน 5 คืน หลังจากฉลองได้สร้างอาคารขึ้นอีกหลังหนึ่งด้านหน้าติดต่อกับอาคารปั้นหยา ขวางตัวอาคารให้เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีในงานสำคัญๆ หรืองานบรรยายศาสนธรรมและใช้สอนศาสนาด้วย
ต่อมาไม่นานเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้วต่อด้วยสงครามมหาเอเชียบูรพาชุมชนบ้านสมเด็จเป็นกลุ่มชนที่อยู่ใกล้กับเมืองหลวง จึงมีผลกระทบอย่างมาก พี่น้องมุสลิมบ้านสมเด็จจำนานมาก ต้องอพยพย้ายที่อยู่ไปที่ปลอดภัยคงเหลือไม่กี่หลังคาเรือน เมื่อสงครามสงบลงต่างทยอยกันกลับสู่ถิ่นฐานเดิม สงครามได้ทิ้งความเสียหายทางเศรษฐกิจไว้มาก จึงต้องใช้เวลาฟื้นฟูสถานภาพของครอบครัวและสังคมอีกชั่วระยะหนึ่ง และในปี พ.ศ. 2497 ท่านอิหม่านและคณะกรรมการมีมติให้รื้ออาคารส่วนหน้า ซึ่งชำรุดมากออก แล้วสร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดเท่าอาคารเดิมหลังคา เทดาดฟ้าคอนกรีตเสริมเหล็กสูงเท่าหลังคาอาคารมัสยิดทำหออาซาน (เสาบัง) แปดเหลี่ยมสองชั้น คล้ายรูปทรงอาซานเดิม เมื่อการออกแบบเรียบร้อยได้มีการวางศิลาฤกษ์ราวกลาง ปี พ.ศ. 2498 การก่อสร้างดำเนินไปอย่างช้าๆตามอัตภาพตามระบบหาไปทำไป ใช้เวลาประมาณ 2 ปี งานโครงสร้างจึงเสร็จราวกลางปี พ.ศ. 2500 แรกเริ่มเดิมที มัสยิดนี้มีหลายชื่อแต่พี่น้องมุสลิมบ้านสมเด็จพอใจจะใช้ชื่อ “สุเหร่าบ้านสมเด็จ”เมื่อมัสยิดเสร็จสมบรูณ์แล้ว ท่านอิหม่านมานิต เกียรติธารัย ได้ไปขอคำปรึกษาจากท่านอาจารย์อะหมัดซีฮาบุดดีน บิน ซอและห์ (ครูสวัสดิ์) ซึ่งท่านถือกำเนิดเป็นลูกบ้านสมเด็จ ผู้หนึ่งได้กรุณาตั้งชื่อให้ว่า “มัสยิดนูรุ้ลมู่บีน” เมื่อปี พ.ศ. 2501 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2505 อาคารมัสยิดเริ่มชำรุด โดยเฉพาะกระเบื้องว่าวมุงหลังคา ซึ่งใช้มาเกินกว่า 50 ปี จึงหมดสภาพไม่สามารถซ่อมแซมได้เพราะวัสดุหายาก จึงมีมติให้เปลี่ยนหลังคาเป็นกระเบื้องลูกฟูก แพดานฟ้า เสาบัง แล้วขยายตัว อาคารด้านข้างออกไปทั้ง 2 ด้านๆละ 2 เมตร ให้เสมอกับตัวอาคารส่วนหน้าที่เสร็จแล้วเป็นแนวเดียวกัน จะได้รวมอาคารทั้งสองเป็นอาคารเดียวกันเป็นอาคารมัสยิดที่ใหญ่เป็นสองเท่า ด้วยเห็นว่ามีอัตราเพิ่มของประชากรมากขึ้น พร้อมทั้งให้ทำห้องใต้ดินไว้เก็บของ ด้านปีกขวาของอาคารการก่อสร้างสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
|