วัน เวลา อิสลาม
เวลาละหมาดมักริบ
วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน 2568
ตรงกับวันที่ 17 เชาวาล 1446
เวลาละหมาดจังหวัดอื่นๆ
รูปภาพ
Facebook Page
Social Share

มัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านป่า

มัสยิดนูรุลอิสลาม

บ้านป่า
เปิดใน Google Maps
มัสยิดนูรุลอิสลาม
×

 
 
มัสยิดนูรุลอิสลาม


ชื่อ มัสยิดนูรุลอิสลาม    ชื่อรอง บ้านป่า

ละติจูด 13.731339   ลองจิจูด 100.610756

รูปภาพมัสยิด

มัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านป่า มัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านป่า มัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านป่า มัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านป่า มัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านป่า มัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านป่า มัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านป่า มัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านป่า มัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านป่า

ประวัติความเป็นมา มัสยิดนูรุลอิสลาม

 
     ประวัติมัสยิดนูรุลอิสลาม (บ้านป่า)
     เมื่อประมาณ 182 ปีที่ผ่านมาพี่น้องมุสลิมกลุ่มหนึ่งมาจากเมือง ฟาตอนีหรือจังหวัดปัตตานี โดยมีแชมะ กับแชนูรำด้มาตั้งภูมิลำเนา เป็นหมู่บ้านเล็กๆอยู่ใจกลางป่าอันเต็มไปด้วยต้นไม้เล็ก-ใหญ่ และนี้คือเหตุผลที่หมู่บ้านนี้มีชื่อว่า "บ้านป่า" และหมู่นี้ก็มีลำคลองเล็กๆ ออกไปสู่ลำคลองใหญ่ คือคลองพระโขนง ลำคลองเล็กก็มีชื่อว่า "คลองบ้านป่า" ต่อมาเมื่อกลุ่มชนที่เล็กกลายเป็นกลุ่มชนใหญ่จึงมีการสร้างมัสยิด ณ ที่ตอนล่างของป่า ซึ่งต่อมานี้เรียกว่าบ้านล่าง พร้อมทั้งได้จัดทำกุโบร์ไว้ดวยโดยใช้ชื่อว่า กุโบร์บ้านล่าง ต่อมาเมื่อสัปบุรุษ ของมัสยิดเพิ่มขึ้น จึงได้ย้ายมัสยิดหลังเก่าปลูกขึ้นใหม่ ณ ที่มัสยิดหลังปัจจุบัน มัสยิดหลังที่สองนี้ สร้างเป็นเรือนไม้สัก หลังคามุงกระเบื้องดิน ฝาลูกประกล โดยซื้อซุงไม้มาเลื่อยเอง ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2475 สัปบุรุษของมัสยิดเพิ่มขึ้นมากขึ้นอาคารหลังเก่าก็ทรุดโทรมลง ดังนั้นสัปบุรุษของมัสยิดจึงได้ร่วมกันสร้างมัสยิดหลังที่ 3 ขึ้นโดยสร้างเป็นอาคารไม้สองชั้น ทรงปั้นหยาหลังคามุงกระเบื้อง ฝาไม้สัก พื้นชั้นล่างไม้สักทั้งหมด ชั้นบนเป็นไม้สักครึ่งหนึ่ง ไม้ตะแบกครึ่งหนึ่ง มีขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 21เมตร มัสยิดหลังที่ 3 นี้ ก็นับว่าเป็นมัสยิดหลังใหญ่หลังหนึ่งในกรุงเทพฯ


     ต่อมาเมื่อมี พ.ร.บ. มัสยิดอิสลามขึ้นจึงได้ทะเบียนเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. มัสยิดอิสลาม เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2429 เลขที่ 22 หมู่ 9 ต.คลองตัน อ.พระโขนง จ.กรุงเทพฯ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น “มัสยิดนูรุลอิสลาม” เลขที่ 22 หมู่ 19 แขวงสวนหลวง เขตพระโขนง กรุงเทพฯ ต่อมาสัปบุรุษของมัสยิดได้เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง จึงทำอาคารมัสยิดหหลังที่ 3 ซึ่งนับว่าใหญ่พอสมควรกลับคับแคบทันที่ สัปบุรุษได้ทนต่อความคับแคบของมัสยิดเป็นเวลาหลายปี ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2513 คณะกรรมการและสัปบุรุษ ว่าจะทำอย่างไร วิธีใด ในที่สุด ที่ประชุมก็ได้ลงมติเป็นเอฉันท์ ให้ดำเนินการได้ จึงมอบให้คุณไพจิตร พงษ์พรรฤก เป็นผู้ออกแบบอาคารมัสยิดหลังใหม่ ต่อมาเมื่อวันจันทร์ที่ 30 เม.ย. 2516 จึงได้รื้อมัสยิดหลังเก่า และวันจันทร์ที่ 7 พ.ค.2516 (ฮ.ศ.1393) จึงได้ทำการวางเสาเข็มกับวัด โดยอาจารย์ มูฮำมัด มะหมัด และอับดุลลาติฟ บุญรอดต่อมาเมื่อวันจันทร์ที่ 14 พ.ค.2516 (ฮ.ศ.1393) คณะกรรมการและสัปบุรุษจึงได้จัดงานวางรากฐานอาคารมัสยิดหลังใหญ่ โดยท่านจุฬาราชมนตรี เป็นประธานกรรมการอัลฮำดูลิลลาฮฺ การก่อสร้างก็ดำเนินเรื่อยมา โดยได้รับความร่วมมือจากสัปบุรุษของมัสยิดนูรุลอิสลามเป็นอย่างดี ตลอดจนพี่น้องมุสลิมทั่วไป มัสยิดหลังที่ 4 มีขนาดดังนี้ ยาว 42 เมตร กว้าง 34 เมตร หออาซานสูง 42 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น ชั้นล่างพื้นหินขัด ผนังภายในปิดหินอ่อนและโมเสด เสาภายในปิดด้วยหินอ่อน ชั้นบนปูบาเก้ ไม่ได้ทาแชลค ภายนอกส่วนมากใช้กรวดล้าง หินล้าง มีห้องรับแขก ห้องประชุม ห้องแสงเสียง ห้องเก็บของ และได้จัดที่อาบน้ำละหมาดไว้ 14 ที่ ลงมือสร้าง 14 พ.ค. 16 (ฮ.ศ.1393) เสร็จเมื่อ 29 เม.ย. 19 (ฮ.ศ.1396) รวมเวลาสร้างเกือบ 3 ปี ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 6,009,053 บาท ทางมัสยิดไม่ได้ส่งผู้ใดเรี่ยไร ณ ที่ใดเลย เงินที่ใช้ในการสร้างนี้เป็นเงินของประชาชนทั้งสิ้น



รายละเอียดอื่นๆ

  -ไม่มีข้อมูล-