บรรพบุรุษของมัสยิดกมาลุลอิสลาม อพยพมาจากรัฐไทรบุรีทางตอนใต้ของประเทศไทย เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 บรรพบุรุษได้ช่วยกันถากถางป่าที่รกร้างจนกลายเป็นทุ่ง จับจองที่ดินทำกิน ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้านใหญ่ในเวลาต่อมา
ส่วนใหญ่บรรพบุรุษนับถือศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือการทำนา การจัดตั้งมัสยิดหลักแรกของตำบลแห่งนี้ คือใช้บ้านทรงไทย เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาในวันศุกร์ และใช้เป็นศูนย์กลางประจำหมู่บ้าน ผู้ที่อุทิศ ชื่อ บาเฮม เป็นผู้ที่มีความรู้ทางศาสนาคนหนึ่ง และเป็นผู้มีฐานะดีในสมัยนั้น ต่อมามีผู้อุทิศ (วากัฟ) ให้เป็นที่สร้างมัสยิดรวมกัน 4 พี่น้อง คือ ฮัจยีดะมัน ภรรยาชื่อฮัจยะห์มีเนาะ,โต๊ะมัง โต๊ะสะมัง, ฮัจยะห์ฮาลีเมาะห์, เนาะเซียะห์ หลังจากที่ฮัจยีดะมันได้เสียชีวิต ฮัจยะห์มีเนาะห์ ได้นำโฉนดที่ดินมามอบให้กับปะจิ๊สะเมาะ ขำเดช เพื่อทำการสร้างสุเหร่า จำนวน 60 ไร่ และมีผู้บริจาคไม้มาสร้างมัสยิดเป็นเรือนไม้ใช้ประกอบพิธีละหมาดแทนบ้านหลังเดิม มัสยิดหลังไม้มีอายุประมาณ 70 ปี ประชากรขยายเพิ่มมากขึ้นสัปปุรุษได้รวมความคิดและลงมติว่าจะต้องขยายมัสยิดให้กว้างขวางขึ้นจึงช่วยกันซื้อทรายมาขึ้นกองไว้ ก็มีคนนำมากองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นกองใหญ่กองค้างอยู่นาน ผู้คนที่เดินทางผ่านไปมามองเห็นกองทรายทุกครั้ง จึงเรียกติดปากว่า “ทรายกองดิน” ในสมัยรัชการที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงเสด็จประภาสคลองแสนแสบโดยทางเรือกลไฟ เมื่อปี พ.ศ. 2450 มาทางทิศตะวันออก เมื่อมาเข้าเขตสุเหร่า เครื่องยนต์เกิดขัดข้อง นายท้ายเรือบังคับเรือเข้าฝั่งให้ช่างเครื่องแก้ไข พระองค์ท่านก็ขึ้นมาเดินบนฝั่ง อยู่สักพักเครื่องยนต์ก็ใช้ได้ พระองค์ท่านลงเรือกลับ อยู่มาไม่นาน ก็มีเรือโยงกลไฟนำหินมา 10 ลำ ทราย 10 ลำ ทหารขนขึ้นมากองไว้นานพอสมควร ชาวบ้านไม่เคยเห็นกองหิน กองทรายใหญ่โตขนาดนี้ ก็พูดว่า “ทรายกองดิน” ได้ทรงแวะมาเยี่ยมเยียนมัสยิดซึ่งขณะนั้นยังคงเป็นเรือนไม้หลักเล็กๆ และมีกองทรายกองใหญ่เตรียมไว้สำหรับสร้างอาคาร พระองค์ทรงตรัสถามว่า “กองทรายเหล่านี้ไว้ทำไม” และได้รับคำตอบว่าเพื่อสร้างสุเหร่า นับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวบ้านจึงเรียกมัสยิดนี้ว่า “สุเหร่าทรายกองดิน” และทางราชการก็ใช้เป็นชื่อตำบลจนถึงปัจจุบัน การก่อสร้างอาคารมัสยิดเริ่มมาจนแล้วเสร็จ เป็นตัวอาคาร มีความกว้าง ยาว 46 เมตร ใช้ทำพิธีละหมาดเรื่อยมา เป็นเวลาประมาณ 80 ปี อาคารมัสยิดปัจจุบันได้สร้างเป็นอาคารหลังใหม่ รอบอาคารมัสยิดเดิมซึ่งมีอายุกว่า๒00ปี มัสยิดได้ปรับปรุงอาคารมัสยิดใหม่โดยอนุรักษ์ของเดิมเอาไว้ให้ได้มากที่สุด หลังคาของตัวอาคารเดิมที่มุงด้วยกระเบื้องเก่าแก่โบราณสู้แดดสู้ฝนมานับร้อยปี พื้นอาคารสั่งทำพิเศษตามแบบฉบับของดั้งเดิม ที่รัชกาลที่๕ทรงพระราชทานให้ไว้ เพดาลไม้สักซึ่งใช้ต้นซุงทั้งต้นเพื่อทำเป็นคานยึดพื้นทั้งหมดไว้ด้วยกัน ทำจากไม้สักที่มีอายุเก่าแก่และยังคงความสมบูรณ์ไว้อย่างครบถ้วน ประตูและหน้าต่างทรงโค้งที่เรียงรายเป็นทิวแถวสองด้านคือสุดเขตของอาคารเก่า มัสยิดได้ขยายอาคารออกไปให้โอ่โถงกว้างขวางมากยิ่งขึ้น พื้นที่ในมัสยิดสามารถรองรับผู้คนได้มากกว่าพันคน มิมบัรทำจากไม้สักสลักลวดลายโดดเด่น ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ภายในมัสยิด นับเป็นโบราณวัตถุเก่าแก่สมัยรัชกาลที่๕ ที่มัสยิดได้ปรับปรุงบูรณะตลอดมา เพื่อใช้งานได้จนถึงปัจจุบัน ตัวอาคารภายนอกของมัสยิดในปัจจุบันมีการก่อสร้างขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้นกว้างขวางและสง่างามเพื่อรองรับการใช้งาน และการทำกิจกรรมของคนในชุมชนที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวัน มัสยิดแห่งนี้เป็นศูนย์กลางแห่งการรวมจิตใจของชาวชุมชนแห่งนี้ สืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รอบๆ บริเวณมัสยิดเป็นสวนสวย มีต้นไม้เขียวชอุ่ม ถูกจัดไว้อย่างสวยงาม เพื่อต้อนรับทุกๆ คนที่แวะมาเยือน ด้านหน้าของมัสยิดที่ชุ่มฉ่ำไปด้วยสายน้ำที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชน ฝูงปลานาๆ ชนิดหลายแสนตัวแหวกว่ายผลัดเปลี่ยนกันขึ้นมาทักทายผู้คนที่รอคิวให้อาหาร ตลอดทางเดินมีหลังคาสีเขียวธรรมชาติสบายตา ระโยงระยานไปด้วยม่านไทรย้อยที่โรยตัวทักทายเราไปตลอดทาง ทำให้ที่นี่เป็นที่พักกายพักใจของผู้คนในชุมชนแห่งนี้ ฝังตรงข้ามของฝั่งคลองเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีการสอนที่ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็กนักเรียน ซึ่งนักเรียนทั้งหลายคือคนรุ่นใหม่ที่จะพัฒนามัสยิดต่อไปในอนาคตข้างหน้า มัสยิดเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชน นอกจากนี้แล้วมัสยิดยังได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนกมาลุลอิสลาม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กที่จะเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา และปลูกฝังการศึกษาให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัย โดยจัดทำหลักสูตรขึ้นเอง มีการสอนทั้งสามัญและศาสนา บูรณาการสอดแทรกวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้าไปด้วย ซึ่งศูนย์เด็กเล็กแห่งนี้อยู่ภายใต้การบริหารของมัสยิดกมาลุลอิสลาม ปัจจุบันประชาชนในละแวกนี้ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย รับราชการและมีส่วนน้อยที่ยังทำไร่ทำนาอยู่ เพราะที่ดินส่วนใหญ่ถูกท่ายเทกรรมสิทธิ์ครอบครองไปยังนายทุน ฐานะทางเศรษฐกิจจึงอยู่ในระดับปานกลาง พอมีพอกิน จำนวนประชากรทั้งสิ้น 2,000 ครอบครัว คิดเป็นจำนวนประชากรประมาณ 20,000 คน กระจายอยู่ในแขวงทรายกองดินใต้ มัสยิดกมาลุลอิสลาม ทรายกองดิน เป็นมัสยิดที่เก่าแก่มีประวัติความเป็นมายาวนานเกือบ ๒00 ปี บรรพบุรุษของชาวมุสลิมในบริเวณนี้อพยพมาจากรัฐไทรบุรีทางตอนใต้ของประเทศไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๓ ชุมชนบริเวณนี้แต่เดิมประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือการทำนาในที่ดินถากถางป่ารกร้างจนกลายเป็นเถือกสวนไร่นา ในสมัยรัชกาลที่ ๕ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงเสด็จประพาสคลองแสนแสบโดยเรือยอร์ดชัยยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕0 พระองค์ได้ทรงแวะมาเยี่ยมเยียนมัสยิด ซึ่งขณะนั้นยังคงเป็นเรือนไม้หลังเล็กๆ และมีกองทราย กองดิน กองใหญ่วางเตรียมไว้สำหรับสร้างอาคาร พระองค์จึงตรัสถามว่า ”กองทรายกองดินเหล่านี้มีไว้ทำไม” และได้รับคำตอบว่า เพื่อสร้างมัสยิด นับแต่นั้นเป็นต้นมาชาวบ้านจึงเรียกมัสยิดแห่งนี้ว่า "สุเหร่าทรายกองดิน" ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ วันที่ 20 กันยายน 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จประพาสคลองแสนแสบ พระองค์ท่านได้ทรงพระราชทานต้นตะแบกและปล่อยปลาที่หน้ามัสยิด เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลาและรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้ วันที่ 20 กันยายน ของทุกๆ ปี เป็นวันอนุรักษ์คูคลองแห่งชาติ และทำให้ชาวชุมชนแห่งนี้ได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ที่งอกงามอยู่ในใจเหล่าพสกนิกรเฉกเช่นเดียวกับดอกตะแบกนี้ที่กำลังชุช่อเบ่งบานอย่างสวยงามเป็นที่สุด อาคารมัสยิดปัจจุบันได้สร้างเป็นอาคารหลังใหม่ รอบอาคารมัสยิดเดิมซึ่งมีอายุกว่า๒00ปี มัสยิดได้ปรับปรุงอาคารมัสยิดใหม่โดยอนุรักษ์ของเดิมเอาไว้ให้ได้มากที่สุด หลังคาของตัวอาคารเดิมที่มุงด้วยกระเบื้องเก่าแก่โบราณสู้แดดสู้ฝนมานับร้อยปี พื้นอาคารสั่งทำพิเศษตามแบบฉบับของดั้งเดิม ที่รัชกาลที่๕ทรงพระราชทานให้ไว้ เพดาลไม้สักซึ่งใช้ต้นซุงทั้งต้นเพื่อทำเป็นคานยึดพื้นทั้งหมดไว้ด้วยกัน ทำจากไม้สักที่มีอายุเก่าแก่และยังคงความสมบูรณ์ไว้อย่างครบถ้วน ประตูและหน้าต่างทรงโค้งที่เรียงรายเป็นทิวแถวสองด้านคือสุดเขตของอาคารเก่า มัสยิดได้ขยายอาคารออกไปให้โอ่โถงกว้างขวางมากยิ่งขึ้น พื้นที่ในมัสยิดสามารถรองรับผู้คนได้มากกว่าพันคน มิมบัรทำจากไม้สักสลักลวดลายโดดเด่น ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ภายในมัสยิด นับเป็นโบราณวัตถุเก่าแก่สมัยรัชกาลที่๕ ที่มัสยิดได้ปรับปรุงบูรณะตลอดมา เพื่อใช้งานได้จนถึงปัจจุบัน ตัวอาคารภายนอกของมัสยิดในปัจจุบันมีการก่อสร้างขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้นกว้างขวางและสง่างามเพื่อรองรับการใช้งาน และการทำกิจกรรมของคนในชุมชนที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวัน มัสยิดแห่งนี้เป็นศูนย์กลางแห่งการรวมจิตใจของชาวชุมชนแห่งนี้ สืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รอบๆ บริเวณมัสยิดเป็นสวนสวย มีต้นไม้เขียวชอุ่ม ถูกจัดไว้อย่างสวยงาม เพื่อต้อนรับทุกๆ คนที่แวะมาเยือน ด้านหน้าของมัสยิดที่ชุ่มฉ่ำไปด้วยสายน้ำที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชน ฝูงปลานาๆ ชนิดหลายแสนตัวแหวกว่ายผลัดเปลี่ยนกันขึ้นมาทักทายผู้คนที่รอคิวให้อาหาร ตลอดทางเดินมีหลังคาสีเขียวธรรมชาติสบายตา ระโยงระยานไปด้วยม่านไทรย้อยที่โรยตัวทักทายเราไปตลอดทาง ทำให้ที่นี่เป็นที่พักกายพักใจของผู้คนในชุมชนแห่งนี้ ฝังตรงข้ามของฝั่งคลองเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีการสอนที่ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็กนักเรียน ซึ่งนักเรียนทั้งหลายคือคนรุ่นต่อไปที่จะพัฒนามัสยิดต่อไปในอนาคตข้างหน้า มัสยิดจึงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชน นอกจากนี้แล้วมัสยิดยังได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนกมาลุลอิสลาม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กที่จะเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา และปลูกฝังการศึกษาให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัย โดยจัดทำหลักสูตรขึ้นเอง มีการสอนทั้งสามัญและศาสนา บูรณาการสอดแทรกวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้าไปด้วย ซึ่งศูนย์เด็กเล็กแห่งนี้อยู่ภายใต้การบริหารของมัสยิดกมาลุลอิสลาม ปัจจุบันประชาชนในละแวกนี้ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย รับราชการและมีส่วนน้อยที่ยังทำไร่ทำนาอยู่ เพราะที่ดินส่วนใหญ่ถูกท่ายเทกรรมสิทธิ์ครอบครองไปยังนายทุน ฐานะทางเศรษฐกิจจึงอยู่ในระดับปานกลาง พอมีพอกิน จำนวนประชากรทั้งสิ้น 2,000 ครอบครัว คิดเป็นจำนวนประชากรประมาณ 20,000 คน กระจายอยู่ในแขวงทรายกองดินใต้ แขวงทรายกองดิน และแขวงแสนแสบ
|