วัน เวลา อิสลาม
เวลาละหมาดจังหวัดอื่นๆ
รูปภาพ
Facebook Page
Social Share

มัสยิดต้นสน ต้นสน


 
 
มัสยิดต้นสน


ชื่อ มัสยิดต้นสน    ชื่อรอง ต้นสน

ละติจูด 13.740026   ลองจิจูด 100.488663

รูปภาพมัสยิด

มัสยิดต้นสน ต้นสน มัสยิดต้นสน ต้นสน มัสยิดต้นสน ต้นสน มัสยิดต้นสน ต้นสน มัสยิดต้นสน ต้นสน มัสยิดต้นสน ต้นสน มัสยิดต้นสน ต้นสน

ประวัติความเป็นมา มัสยิดต้นสน

 
30 กล่าวถึงกรุงธนบุรีในฐานะของราชธานีแห่งราชอาณาจักรสยามนั้น ความสำคัญในฐานะของการเป็นรอยต่อทางประวัติศาสตร์ระหว่างพระนครศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนั้นกรุงธนบุรีจึงเป็นแหล่งรวบรวมของวัฒนธรรมประเพณีอันหลากหลายจากกลุ่มชนต่างชาติต่างภาษาและต่างวัฒนธรรมที่มารวมตัวกันในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชของชาติในปี พ.ศ. ๒๓๑๐
  ในบรรดากลุ่มชนต่างชาติ ศาสนาและวัฒนธรรมที่มารวมตัวกันในกรุงธนบุรีครั้งนั้น ชาวไทยมุสลิมเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและจารีตประเพณีอันมีเอกลักษณ์เฉพาะของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวไทยมุสลิมกลุ่มที่รวมตัวกันอยู่บริเวณปากคลองบางหลวงหรือคลองบางกอกใหญ่ต่ำจากพระราชวังเดิมลงมา ซึ่งก่อร่างชุมชนมาพร้อม ๆ กับการตั้งเมืองบางกอกในอดีตและดำรงวัฒนธรรมกลุ่มชนของตนสืบต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบัน จึงทำให้ประวัติของชาวไทยมุสลิมกลุ่มนี้มีความเป็นมายาวนานร่วม ๔๐๐ ปี โดยมีศาสนสถานที่เรียกว่า“มัสยิดตันสน”หรือ“กะดีใหญ่”ในอดีตเป็นศูนย์กลางของจิตวิญญาณที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาได้เป็นอย่างดี
30 ประวัติของชุมชน “มัสยิดต้นสน” นั้นมีความเป็นมาโดยสันนิษฐานว่าแต่แรกน่าจะเป็นการรวมตัวของมุสลิมเชื้อสายจามที่เข้ามาเป็นกองอาสาต่างชาติในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช(พ.ศ.๒๐๗๗–๒๑๑๑) ซึ่งเป็นช่วงของการเกณฑ์แรงงานอาสาต่างชาติเพื่อการศึกสงครามและบูรณประเทศ โดยเฉพาะการขุดคลองลัดบางกอกในปีพุทธศักราช ๒๐๘๕ เพื่อเชื่อมระหว่างคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ จึงทำให้มีชุมชนมุสลิมอยู่ในบริเวณท้ายป้อมเมืองบางกอกหรือป้อมวิชัยประสิทธิ์ในปัจจุบัน
  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญคือ บันทึกจดหมายเหตุของบรรพชนที่พบในสมุดข่อยโบราณกล่าวว่า

“…เจียมลูกพ่อเดชมันถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารของพระเจ้าทรงธรรมที่กรุงศรีอยุธยา
อุตส่าห์ส่งผ้านุ่งตาหมากรุกมาให้พ่อของมันถึงคลองบางกอกใหญ่จนได้…”


ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีอยู่และเป็นชุมชนดั่งเดิมที่มีมาก่อนสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. ๒๑๖๓–๒๑๗๑)
นอกจากหลักฐานดังกล่าวแล้วยังพบบันทึกจดหมายเหตุ “ใครเปนใคร” ซึ่งคัดลอกต่อมาโดยพระยาจุฬาราชมนตรีหลายคนในสายตระกูลเจ้าพระยาบวรราชนายก(เฉก อหะหมัด)ตั้งแต่ครั้งปลายกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ โดยฉบับสุดท้ายเป็นฉบับการคัดลายมือของนายเพิ่ม อหะหมัดจุฬา ที่กล่าวถึงการสร้างศาสนสถานแห่งนี้ในปีพ.ศ.๒๒๓๑ ช่วงปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.๒๑๙๙–๒๒๓๑)โดยเจ้าพระยาราชวังสันเสนีย์(ม๊ะหมูด) บุตรเจ้าพระยารามเดโชชัย(ทิพ)ซึ่งเป็นขุนนางกลุ่มสุลต่านสุลัยมานเชื้อสายเปอร์เซียและเป็นแม่ทัพเรือกำกับพลฝรั่งเศส ๔๐๐ คน ที่รัฐบาลสยามจ้างมารักษาป้อมวิชาเยนทร์ ณ ปากคลองบางกอกใหญ่และกำกับกำปั่นต่าง ๆ ที่เข้ามาติดต่อค้าขายยังกรุงศรีอยุธยาสมัยนั้น
  การสร้างศาสนสถานสำหรับประกอบศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมกลุ่มนี้น่าจะมีขึ้นภายหลังจากการรวมตัวกันเป็นชุมชนที่เป็นปึกแผ่นแล้ว โดยเริ่มจากการอุทิศที่ดินเพื่อสร้างศาสนสถานที่เรียบง่ายแบบเรือนฝาไม้กระดานใตัถุนสูงหลังคามุงกระเบื้องดินเผา ก่อนการปรับปรุงปฏิสังขรณ์ในอีกหลายยุคหลายสมัย เช่น ในปี พ.ศ. ๒๓๗๐ สมัยรัชกาลที่ ๓ โดยท่านหลวงโกชาอิสหาก(นาโคดาลี) บุตรชายของท่านเจ๊ะซอและห์ จนถึงอาคารมัสยิดหลังปัจจุบันที่สร้างขึ้นในปีพ.ศ.๒๔๙๗เพื่อทดแทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมซึ่งรับใช้ชุมชนต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
  นอกจากในส่วนของมัสยิดต้นสนอันเป็นศาสนสถานที่มีประวัติความเป็นมาดังกล่าวแล้ว ที่ดินส่วนที่เรียกว่า“สุสาน”หรือ“กุบู๊ร”ของมัสยิดต้นสนก็ยังเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของชุมชนเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเพราะเป็นสถานที่ฝั่งศพของบรรดาบรรพชนมุสลิมที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์สังคมไทยจำนวนมาก เช่น เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์(หมุด) ผู้ร่วมกอบกู้แผ่นดินในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช,พระยาราชบังสัน(ฉิม)แม่ทัพเรือในสมัยรัชกาลที่ ๓,หลวงโกชาอิสหาก(นาโคดาลี)ผู้ปฏิสังขรณ์มัสยิดต้นสนสมัยพ.ศ.๒๔๙๗เป็นต้น และรวมทั้งยังเป็นสุสานที่ฝังศพของขุนนางตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น “จุฬาราชมนตรี” ทั้ง ๙ ท่านตลอดสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.๒๔๗๕ ตลอดจน “เจ้าจอม” มุสลิมที่สำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น เจ้าจอมหงส์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ เจ้าจอมจีบในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เจ้าจอมละม้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นต้น
30 ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของมัสยิดต้นสนตลอดจนบรรพชนต่าง ๆ ในชุมชมแห่งนี้ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดต่อราชสำนักสยามมาโดยตลอด จึงทำให้มัสยิดต้นสนมีหลักฐานที่กล่าวถึงการเสด็จพระราชดำเนินมาของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ในสมัย รัตนโกสินทร์ หรือแม้แต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.๒๔๗๕แล้วก็ตาม เช่น เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ทรงเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคพร้อมด้วยพระอนุชา(พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙) เพื่อเยี่ยมเยียนชุมชนมัสยิด ฯ เป็นการส่วนพระองค์โดยมีจุฬาราชมนตรี(แช่ม พรหมยงค์) พระยามไหสวรรค์ฯ(นายกเทศมนตรีนครธนบุรี) พร้อมด้วยอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิดต้นสนรับเสด็จ
หรือเมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ผ่านมา สุลต่านอิสมาแอลปุตรา อิบนิ อัรมัรฮูมสุลต่านยะห์ยาปุตรา แห่งรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทรงเสด็จพร้อมพระชายา และตวนกูมะโกตาพระราชโอรสเป็นการส่วนพระองค์ โดยฮัจยีเฟาซัน หลังปูเต๊ะอิหม่ามมัสยิดต้นสนพร้อมคณะกรรมการมัสยิดฯรับเสด็จ เป็นต้น

รายละเอียดอื่นๆ

  -ไม่มีข้อมูล-
ที่อยู่ มัสยิดต้นสน

บ้านเลขที่ 447 หมู่ที่ -
หมู่บ้าน/ชุมชน - ซอย ถนนอรุณอมรินทร์
ถนน ถนนอรุณอมรินทร์ ตำบล วัดอรุณ
อำเภอ บางกอกใหญ่ จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ 10600 ประเทศ ประเทศไทย

ข้อมูลติดต่อ มัสยิดต้นสน

โทรศัพท์ 0811733786    
อีเมล musjidtonson@gmail.com เว็บไซต์ www.tonsonmosque.com
Facebook - Twitter -
คณะกรรมการอิสลามประจำ มัสยิดต้นสน
ลำดับที่
ชื่อ - นามสกุล
ตำแหน่ง
1
นายวิบูลย์  มุขตารี อิหม่าม
ข้อมูลรายละเอียด มัสยิดต้นสน

ทะเบียนเลขที่ - วันจดทะเบียน -
อายุมัสยิด - จำนวนชั้น -
ความยาวอาคาร - ความกว้างอาคาร -
จำนวนความจุ - จำนวนสัปบุรุษ -
อาคารอื่นๆ -

แหล่งที่มาของข้อมูล มัสยิดต้นสน

ประเภทแหล่งที่มา - แหล่งที่มา -
ระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูล - เว็บไซต์ -

การเพิ่มและแก้ไขข้อมูล มัสยิดต้นสน

เพิ่มข้อมูลโดยคุณ admin เพิ่มข้อมูลเมื่อ 8 พฤษภาคม 2554, 17:56 น.
ผู้แก้ไขข้อมูลล่าสุด admin แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2556, 22:49 น.
เพิ่มข้อมูลด้วย IP 202.12.73.193 แก้ไขข้อมูลด้วย IP 124.122.104.195
สถิติการเข้าชม 909 ครั้ง

รายงานผู้ดูแลระบบ
  แก้ไขข้อมูล
แจ้งแก้ไขข้อมูล
แจ้งลบข้อมูล
เวลาละหมาด มัสยิดต้นสน
เวลาละหมาด กรุงเทพมหานคร

เส้นทางไปยังมัสยิดต้นสน
เปิดนำทางใน Google Maps

คลิกที่นี้ เพื่อแสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นของ มัสยิดต้นสน
-ไม่มีการแสดงความคิดเห็น-