วัน เวลา อิสลาม
เวลาละหมาดจังหวัดอื่นๆ
รูปภาพ
Facebook Page
Social Share

มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน ลำสาลี


 
 
มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน


ชื่อ มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน    ชื่อรอง ลำสาลี

ละติจูด 13.749698   ลองจิจูด 100.650749

รูปภาพมัสยิด

มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน ลำสาลี มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน ลำสาลี มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน ลำสาลี มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน ลำสาลี มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน ลำสาลี มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน ลำสาลี มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน ลำสาลี มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน ลำสาลี

ประวัติความเป็นมา มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน

           ก่อนปี พ.ศ. 2492 หมู่บ้านลำสาลีนั้นมีสภาพความเป็นอยู่ไม่ผิดอะไรกับชาวชนบทที่อยู่ห่างไกลความเจริญ อาชีพส่วนใหญ่คือการทำนา ยามว่างเสร็จจากการทำนาก็หากุ้งหาปลาฆ่าเวลาไปวันๆ การคมนาคมติดต่อในสมัยนั้นหน้าน้ำก็ใช้เรือ พอถึงหน้าแล้งก็เดินเท้าไปมาหาสู่กัน ถึงคราวจำเป็นหรือเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ต้องใช้ไอ้ทุยนี่แหละ ขี่บ้าง เทียมเกวียนบ้าง พูดถึงไอ้ทุย มันก็คือที่มาของ"ลำสาลี" กล่าวคือ ในตำนานจากการบอกเล่าของคนในอดีตว่า "โต๊ะกีลี" แกเป็นคนเลี้ยงควาย ชาวบ้านส่วนใหญ่จะนำควายมาให้แกเลี้ยงดูเป็นฝูงใหญ่ ตอนนั้นท้องทุ่งแถบนี้มีทุ่งหญ้าเป็นป่าละเมาะ โต๊ะกีลีหรือตาสำลีแกจะต้อนควายที่แกดูแลลงคลองหัวหมาก มากินหญ้าในทุ่งแถบนี้ในหน้าแล้ง ซึ่งอยู่บริเวณหน้ามัสญิดฯในปัจจุบัน นานวันเข้าทางที่แกต้อนควายเดินอยู่ทุกวันก็แปรเปลี่ยนไปเป็นลำราง ชาวบ้านเรียกลำรางนี้จนติดปากว่า"ลำตาสำลี" และเพี้ยนมาเป็น"ลำสาลี"ในปัจจุบัน

         จุดเริ่มต้นจาก โต๊ะกีดำ อิสมาแอล ได้อุทิศที่ดิน โฉนดเลขที่ 5769 เล่มที่ 56 หน้า 69 เลขที่ดิน 127 จำนวน 1 ไร่ 2 งาน 85 วา เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างมัสยิด และโรงเรียน พร้อมทั้งชาวบ้านได้ร่วมกันซื้อที่ดินโฉนดเดียวกันร่วมอุทิศอีก 1 ไร่ และได้มีการประชุมกันจึงเห็นควรให้มีการก่อสร้างโรงเรียนก่อน โดย วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2492 เวลา 8.00 น. ได้มีการยกเสาเริ่มก่อสร้าง โดยตัวอาคาร มีความยาว 16 เมตร กว้าง 6 เมตร ใช้เวลาในการก่อสร้าง 2 เดือน ใช้งบประมาณ 13,000 บาท โดยใช้แรงงานของคนในหมู่บ้านในการร่วมกันก่อสร้าง เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงมอบให้ทางราชการ และเปิดทำการสอนเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2493 จึงได้ทำการก่อสร้างอาคารขึ้นอีกหลัง เพื่อใช้เป็นที่สอนศาสนา ประกอบกับในสมัยนั้นการละหมาดวันศุกร์จะต้องเดินเท้าไปละหมาดที่มัสยิดหัวหมากน้อย เมื่อมีโรงเรียนสอนศาสนาแล้ว และจำนวนประชาชนเพื่อมากขึ้นจึงร่วมปรึกษาหารือกัน เห็นควรให้มีการก่อสร้างอาคารมัสยิดขึ้น โดยมีมติให้ก่อสร้างในบริเวณโรงเรียน ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2494 ก่อนที่จะมีการก่อสร้างอาคารมัสยิด เสียงกลองหนังดังกึกก้อง อันแสดงความหมายว่า บัดนี้การเรียกร้องเชิญชวนสู่การละหมาด ได้เกิดขึ้นแล้วที่ หมู่บ้านลำสาลี โดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนสอนศาสนาเป็นอาคารชั่วคราว และใช้ประกอบศาสนกิจเรื่อยมา และได้ยื่นขอจดทะเบียนมัสยิด ซึ่งได้รับการอนุมัติตามพระราชบัญญัติอิสลาม เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2494 ทะเบียนเลขที่ 75 ในชื่อ มัสยิดญามิอุ้ลมุตตะกีน โดย ท่านอิหม่าม มุฮัมมะเด็น กลิ่นมาลัย และพร้อมกับการแต่งตั้งกรรมการมัสยิดอีก 12 ท่าน

         ต่อมา โต๊ะกีเลาะห์ แดงโกเมนได้อุทิศที่ดินโฉนดที่ 2064 เล่มที่ 19 หน้า 64 จำนวน 5 ไร่ 12 วา เมื่อเวลาเปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนได้เปลี่ยนไป จำนวนสัปบุรุษเพิ่มมากขึ้น ทำให้สถานที่ของโรงเรียนที่ใช้ทำการละหมาดไม่พอเพียง จึงเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องสร้างอาคารมัสยิดขึ้นมาใหม่ โดยการนำของท่านอิหม่าม มุฮัมมะเด็น กลิ่นมาลัยได้อุทิศเงินก้อนใหญ่เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นการก่อสร้างอาคารมัสยิด และแล้วในวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2505 ตรงกับเดือนรอมฎอน ฮ.ศ. 1381 เวลา 8.15 น. ได้ทำการยกเสาอาคารมัสยิดหลังใหม่ มีขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 18 เมตร โดยใช้งบประมาณ 100,000 บาท จากผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคด้วย และได้มีการก่อสร้าง บาแล และ หออาซาน ในปีต่อมา จวบจนในปี พ.ศ. 2530 อาคารไม้หลังเดิมไม่สามารถรองรับจำนวนสัปบุรุษที่เพิ่มมากขึ้น คณะกรรมการมัสยิดและสัปบุรุษ จึงได้ประชุมร่วมกัน ได้มีมติให้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารมัสยิดหลังใหม่ โดยในระหว่างการก่อสร้างให้ใช้อาคารเรียนของโรงเรียน กันซุสซอลีฮีน ทำการละหมาดชั่วคราวจนกว่าอาคารมัสยิดหลังใหม่จะใช้การได้ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ได้ทำการรื้ออาคารมัสยิดหลังเก่าเพื่อเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง และแล้ววันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 ในตอนเช้า มีผู้คนมากมายได้รวมตัวกัน เพื่อขอดุอา และรอคอยเวลาที่จะเริ่มตอกเสาเข็มต้นแรกด้วยความดีใจ และตื้นตันใจ จนทุกอย่างแล้วเสร็จ นั่นเป็นการยืนยันในความมั่นคงแข็งแรงและถาวร ในการเริ่มต้นการก่อสร้าง จากนั้นได้ดำเนินการก่อสร้างเรื่อยมา โดยได้รับการอุทิศจากพี่น้องทั้งในและนอกชุมชนเพื่อใช้ในการก่อสร้าง นอกจากนั้นแล้วในการดำเนินการก่อสร้าง ได้ใช้บุคคลากร ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการก่อสร้าง การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ และแรงงาน ก็ใช้คนในชุมชนเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งแล้วเสร็จ โดยไม่มีการหยุดการก่อสร้างเลย และได้ใช้อาคารมัสยิดหลังใหม่ในการประกอบศาสนกิจ และกิจกรรมต่างๆมากมาย พร้อมทั้งได้มีการปรับปรุง เพิ่มเติม เสริมแต่ง ตัวอาคาร และบริเวณโดยรอบจนสมบูรณ์ จึงเห็นพ้องต้องกันให้ดำเนินการจัดงานทำพิธีเปิดป้ายอาคารมัสยิดอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 28 พฦศจิกายน พ.ศ

รายละเอียดอื่นๆ

  -ไม่มีข้อมูล-
ที่อยู่ มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน

บ้านเลขที่ 75 หมู่ที่ -
หมู่บ้าน/ชุมชน ลำสาลี ซอย -
ถนน ถนนกรุงเทพกรีฑา ตำบล หัวหมาก
อำเภอ บางกะปิ จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ 10240 ประเทศ ประเทศไทย

ข้อมูลติดต่อ มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน

โทรศัพท์ -    
อีเมล - เว็บไซต์ -
Facebook - Twitter -
คณะกรรมการอิสลามประจำ มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน
ลำดับที่
ชื่อ - นามสกุล
ตำแหน่ง
1
นายหวังสุโกต  ภู่มีสุข อิหม่าม
2
นายหะยีสะมะแอ  พ่วงศิริ คอเต็บ
3
นายสมาน  อิสมาแอล บิลาล
4
นายวิศิษฐ์  จันทร์วิเศษ กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
5
นายนิรันดร์  กลิ่นมาลัย กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
6
นายพ.อ.อ.เกษม  อิสมาแอล กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
7
นายกอเดร  มีวงษ์น้อย กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
8
นายอับดุลเลาะ  แดงโกเมน กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
9
นายประภาส  พ่วงศิริ กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
10
นายอะหะหมัด  เย็นประสิทธิ กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
11
นายสมาน  มีวงศ์น้อย กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
12
นายจำปี  บุญมาเลิศ กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
13
นายอารีย์  พ่วงศิริ กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
14
นายวีรพนธ์  บุญมาเลิศ กรรมการอิสลามประจำมัสยิด
ข้อมูลรายละเอียด มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน

ทะเบียนเลขที่ 75 วันจดทะเบียน -
อายุมัสยิด - จำนวนชั้น -
ความยาวอาคาร - ความกว้างอาคาร -
จำนวนความจุ - จำนวนสัปบุรุษ -
อาคารอื่นๆ -

แหล่งที่มาของข้อมูล มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน

ประเภทแหล่งที่มา - แหล่งที่มา -
ระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูล - เว็บไซต์ -

การเพิ่มและแก้ไขข้อมูล มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน

เพิ่มข้อมูลโดยคุณ - เพิ่มข้อมูลเมื่อ 20 มีนาคม 2555, 16:35 น.
ผู้แก้ไขข้อมูลล่าสุด - แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2556, 22:49 น.
เพิ่มข้อมูลด้วย IP 124.120.186.216 แก้ไขข้อมูลด้วย IP -
สถิติการเข้าชม 715 ครั้ง

รายงานผู้ดูแลระบบ
  แก้ไขข้อมูล
แจ้งแก้ไขข้อมูล
แจ้งลบข้อมูล
เวลาละหมาด มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน
เวลาละหมาด กรุงเทพมหานคร

เส้นทางไปยังมัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน
เปิดนำทางใน Google Maps

คลิกที่นี้ เพื่อแสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นของ มัสยิดยามิอุ้ลมุตตะกีน
-ไม่มีการแสดงความคิดเห็น-